เมนู

ความว่า ตนเองล้างมือ ล้างเท้า แล้วล้างหน้า. บทว่า สเกหิ ปาณิภิ
ความว่า ด้วยมือของตน. ปาฐะเป็น สเยหิ ก็มี. บทว่า สทฺโธ ได้แก่
เชื่อคุณพระรัตนตรัย. บทว่า มุตฺเตน เจตสา ความว่า มีจิตหลุดพ้นจาก
ความตระหนี่ในลาภเป็นต้น. บทว่า อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลกํ ได้แก่
เทวโลกที่ปราศจากทุกข์มีแต่สุขและโสมนัสอันโอฬาร.
จบอรรถกถาทานสูตรที่ 7

8. อัตตการีสูตร


ว่าด้วยการทำเพื่อตนและเพื่อคนอื่น


[309] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ข้าพระองค์มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า การทำเพื่อตนไม่มี การทำเพื่อผู้อื่นไม่มี พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราอย่าได้เห็นหรือได้ฟังของบุคคลผู้กล่าวว่า
เรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ก็บุคคลเมื่อก้าวไปเองได้ ถอยกลับเองได้
ไฉนเล่าจักกล่าวอย่างนี้ว่า การทำเพื่อตนไม่มี การทำเพื่อผู้อื่นไม่มี ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อารัพภธาตุ (ความเพียรเป็น
เหตุปรารภ) มีอยู่หรือ.
พราหมณ์. อย่างนั้น ท่านพระโคดม.
พ. เมื่ออารัพภธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความปรารภย่อมปรากฏหรือ.

พราหมณ์ อย่างนั้น ท่านพระโคดม.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ การที่เมื่ออารัพภธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ความปรารภย่อมปรากฏนี้แหละเป็นการทำเพื่อตน นี้แหละเป็นการทำเพื่อผู้อื่น
ของสัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นิกกมธาตุ
(ความเพียรเป็นเครื่องก้าวออก) มีอยู่หรือ ฯลฯ ปรักกมธาตุ (ความเพียร
เป็นเครื่องก้าวไปข้างหน้า) มีอยู่หรือ ถามธาตุ (ความเพียรเป็นกำลัง) มีอยู่หรือ
ธิติธาตุ (ความเพียรเป็นเครื่องทรงไว้) มีอยู่หรือ อุปักกมธาตุ (ความพยายาม)
มีอยู่หรือ.
พราหมณ์ อย่างนั้น ท่านพระโคดม.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ เมื่ออุปักกมธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความ
พยายามย่อมปรากฏหรือ.
พราหมณ์. อย่างนั้น ท่านพระโคดม.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ การที่เมื่ออุปักกมธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ความพยายามย่อมปรากฏ นี้แหละเป็นการกระทำเพื่อตน นี้แหละเป็นการทำ
เพื่อผู้อื่นของสัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนพราหมณ์ เราอย่าได้เห็นหรือได้ฟังคำของ
บุคคลผู้กล่าวว่า เรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ก็บุคคลเมื่อก้าวไปเองได้
ถอยกลับเองได้ ไฉนเล่าจักกล่าวอย่างนี้ว่า การทำเพื่อตนไม่มี การทำเพื่อ
ผู้อื่นไม่มี.
พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประ-
กาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็น

รูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคมผู้เจริญโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบอัตตการีสูตรที่ 8

อรรถกถาอัตตการีสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอัตตการีสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อทฺทสํ วา อสฺโสสึ วา ความว่า เราอย่าได้ลืมตาเห็น
อย่าได้ยินว่า เขาอยู่ในที่ชื่อโน้น หรืออย่าได้ยินถ้อยคำที่เขาพูด. บทว่า
กถํ หิ นาม ความว่า ด้วยเหตุชื่อไร ?
ความเพียรที่เป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งความริเริ่ม ชื่อว่า
อารพฺภธาตุ. ความเพียรที่มีสภาพก้าวออกไปจากความเกียจคร้าน ชื่อว่า
นิกฺกมตา. สภาวะของความก้าวหน้า ชื่อว่า ปรกฺกกมธาตุ. สภาวะของกำลัง
ชื่อว่า ถามธาตุ. สภาวะของธิติ ชื่อว่า ธิติธาตุ. สภาวะของความพยายาม
ชื่อว่า อุปกฺกมธาตุ. อนึ่ง คำทั้งหมดนี้ เป็นชื่อของความเพียรอย่างเดียว
ที่เป็นไปแล้วโดยอาการนั้น.
จบอรรถกถาอัตตการีสูตรที่ 8